Attributes ใน Input หน้าก่อน หน้าถัดไป Attribute: value value ใช้ระบุค่าเริ่มต้นของกล่องข้อความ ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: readonly readonly ใช้ระบุให้กล่องข้อความนั้นดูได้อย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขได้ ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: disabled disabled ใช้ระบุให้กล่องข้อความถูกปิดการใช้งาน ไม่สามารถใช้ได้ คลิกก็ไม่ได้ และค่าก็จะไม่ถูกส่งหากฟอร์มถูก Submit ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: size size ใช้ระบุขนาดของกล่องข้อความ หน่วยเป็นตัวอักษร ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: maxlength maxlength ใช้ระบุจำนวนตัวอักษรที่อนุญาตให้กรอกได้ ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด ด้วย maxlength เบราว์เซอร์จะไม่ให้คีย์ข้อความเกินจำนวนที่ระบุไว้ แต่จะไม่มีการส่ง feedback ใดๆ กลับมา ถ้าต้องการให้มีการขึ้นเตือนต้องใช้โค้ด JavaScript ทำงานร่วมด้วย การใส่เงื่อนไข Input ต่างๆ ไม่สามารถป้องกันการผิดพลาดได้ 100% เพราะ HTML และ JavaScript ล้วนเป็นโค้ดที่ทำงานฝั่งเบราวเซอร์ ซึ่งสามารถแก้ไขหรือหาทางหลีกเลี่ยงการตรวจสอบได้ หากต้องการให้การตรวจสอบ Input เป็นไปตามเงื่อนไข 100% จะตรวจสอบด้วยโค้ดฝั่งเซิฟเวอร์อีกครั้ง Attribute ที่เพิ่มมาใน HTML5 ใน HTML5 ได้มีการเพิ่ม Attribute เพื่อใช้ใน <input> ได้แก่ autocomplete autofocus form formaction formenctype formmethod formnovalidate formtarget height and width list min and max multiple pattern (regexp) placeholder required step และเพิ่ม Attribute เพื่อใช้ใน <form> ได้แก่ autocomplete novalidate Attribute: autocomplete autocomplete ใช้ระบุว่าจะให้เปิดหรือปิดคำสั่ง autocomplete ในกล่องข้อความนั้น หาก autocomplete เปิดอยู่ เบราว์เซอร์จะส่งค่าที่เคยกรอกลงไปก่อนหน้านี้ให้อัตโนมัติ เราสามารถระบุให้ autocomplete เปิดหรือปิดทั้งฟอร์ม หรือเฉพาะบางกล่องข้อความก็ได้ ใช้ได้กับ <form> และ <input> ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด บางเบราว์เซอร์จำเป็นต้องระบุคำสั่งเปิดเพื่อใช้งานฟังก์ชั่นนี้ Attribute: novalidate novalidate ใช้กับ Element <form> เพื่อระบุว่าไม่ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเมื่อกด Submit ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่นต่ำกว่า 9 และ Safari ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: autofocus autofocus ใช้เพื่อระบุให้เบราว์เซอร์ focus อัตโนมัติเมื่อหน้าเว็บโหลดเสร็จ ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่นต่ำกว่า 9 ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: form form ใช้เพื่อระบุว่า <input> เป็นของฟอร์มไหน (ระบุมากกว่า 1 ฟอร์มได้) กรณีไม่อยู่ภายใน Tag <form> การระบุมากกว่า 1 ฟอร์มให้ใช้เว้นวรรคเป็นตัวแบ่ง ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: formaction formaction ใช้เพื่อระบุชื่อไฟล์ที่จะส่งไปประมวลผลเมื่อกด Submit แล้ว formaction จะไปแทนที่กับ Attribute action ใน <form> ใช้กับ Input ประเภท submit และ image ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่น 9 และต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: formenctype formenctype ใช้ระบุว่าจะ encode ข้อมูลอย่างไร เมื่อกด Submit (ใช้ได้กับ method="post" เท่านั้น) formenctype จะไปแทนที่กับ Attribute enctype ใน <form> ใช้กับ Input ประเภท submit และ image ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่น 9 และต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: formmethod formmethod ใช้ระบุใช้วิธีไหนในการส่ง HTTP เมื่อกด Submit formmethod จะไปแทนที่กับ Attribute method ใน <form> ใช้กับ Input ประเภท submit และ image ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่น 9 และต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: formnovalidate formnovalidate ใช้กำหนดให้แบบฟอร์มไม่ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล formnovalidate จะไปแทนที่กับ Attribute novalidate ใน <form> ใช้กับ Input ประเภท submit ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น และ Safari ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: formtarget formtarget เอาไว้ระบุเจาะจงว่า Submit ฟอร์มที่หน้าต่างไหน formtarget จะไปแทนที่กับ Attribute target ใน <form> ใช้กับ Input ประเภท submit และ image ใช้ไม่ได้กับ Internet Explorer เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: height และ width height และ width เอาไว้ระบุความสูงและความกว้างของ Element <input type="image"> <input type="image"> คือการสร้างรูปภาพให้เป็นปุ่ม Submit ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: list list ใช้เพื่ออ้างอิงกับ id ของ <datalist> เพื่อระบุรายการสำหรับกรอกข้อมูลล่วงหน้า ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น และ Safari ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: min และ max min และ max ใช้ระบุค่าน้อยสุดและค่ามากสุดที่กรอกได้ใน <input> min กับ max ใช้ได้กับ input ประเภท number range date datetime-local month time และ week ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: multiple multiple ใช้ระบุให้สามารถเลือกไฟล์ได้มากกว่า 1 ไฟล์ใน <input> multiple ใช้ได้กับ input ประเภท file และ email ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: pattern pattern ใช้ระบุ regular expression ที่ <input> จะใช้ตรวจสอบ pattern ใช้ได้กับ input ประเภท text search url tel email และ password ควรใช้ Attribute title เพื่อช่วยอธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจเงื่อนไข ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น และ Safari ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: placeholder placeholder ใช้เพื่ออธิบายกล่องข้อความว่าควรกรอกอะไรลงไป (ตัวอย่างข้อมูลหรือคำอธิบายสั้นๆ) คำอธิบายจะปรากฎเฉพาะตอนที่กล่องข้อความยังไม่ได้ใส่ค่าอะไรลงไป placeholder ใช้ได้กับ input ประเภท text search url tel email และ password ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: required required ใช้ระบุให้เบราว์เซอร์บังคับกรอกข้อมูลก่อนกด Submit required ใช้ได้กับ input ประเภท text search url tel email password date number checkbox radio และ file ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น และ Safari ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด Attribute: step step ใช้ระบุให้กรอกตัวเลขแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่างเช่น ถ้า step="3" ตัวเลขที่กรอกได้จะเป็น -3 0 3 6 เป็นต้น มักจะใช้ร่วมกับ Attribute min และ max step ใช้ได้กับ input ประเภท number range date datetime-local month time และ week ใช้ไม่ได้กับ IE เวอร์ชั่น 9 หรือต่ำกว่านั้น ตัวอย่าง ลองเขียนโค้ด หน้าก่อน หน้าถัดไป